Recent

Plateform : Micro:bit

ชุดบอร์ด micro:bit ชุดทดลองที่น้าสนใจ โดยเฉพาะเด็กๆ และผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรมแบบ บล็อค ของเล่ยนมากมาย

อย่าหยุดที่จะเรียนรู้

ครูโป้ง ก็ไปเรียนเพิ่มได้ความรู้มาเพิ่มพูน ไม่หยุดนิ่ง ลงทุนบ้าง เสาะหาบ้าง

ชุด ioT กับ ESP8266

iot คือทุกอย่างสามารถเชิ่อมต่อบนโลกอินเตอร์เน็ต เชื่อมโลกได้ สั่งได้ทั่วโลก

วิ่งปรู๊ด ตามเส้นไป กับ Arduino

โครงงานรถยนต์กับ Aruino

AR vs VR

เชื่อมโลกเสมือนไปกับ AR และ VR

11 กรกฎาคม 2560

เฮ้ย Wi-Fi เร็วขึ้นอีก IEEE 802.11ac to ax

ที่มา : https://www.mabzicle.com/2013/07/ieee-802.11-ac-wifi-standard.html

มาตรฐานไวไฟ

                  ไม่ทันไรที่เราใช้ Wireless-LAN (WLAN) หรือเรียกติดปากว่า Wi-Fi (Wireless Fidelity) ด้วยความเร็ว 300Mbps (802.11n-2.4Hhz) กว่าจะหาเงินซื้ออุปกรณ์จำพวก Access Point มาใช้ มาให้บริการด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง (โน๊คบุ๊กที่ใช้อยู่ยังเป็น Draft-N อยู่เลย) ไม่นานก็ค่อยๆลดราคาลง และปีนี้เพิ่งได้ตัว 750Mbps (802.11ac-5Ghz) มาติดตั้ง 2 ตัวราคากระเป๋าฉีก (UBiQUiTi UniFi AC Mesh AP (UAP-AC-M) - N300/AC867 MbpsUniFi Mash ac) มาประจำการ กำลังทดสอบอยู่ อ้าว มาตรฐานใหม่มาแล้ว


ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/IEEE_802.11
         จากตารางจะเป็นได้ว่า ได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ตามมาตรฐาน IEEE 802.11 มาแล้ว โดยเฉพาะ 802.11ad โดยไช้คลื่น 60 Ghz ความเร็ว 7 Gbps แต่ระยะยังค่อนข้างแคบ ดูได้จากภาพ

ที่มา : http://wwarodom.blogspot.com/2016/08/ieee-80211.html

      จะสังเกตุได้ว่า ยิ่งความถี่สูง(Height Frequency) ความเร็วก็สูงขึ้น(Speed Up) ใช้ความกว้างของคลื่นกว้างขึ้น(Bandwidth) แต่ระยะแคบลง(Range) เหมือนปีที่แล้ว(2015-2016)พอเปิดสัญญาณ 3G-4G LTE ก็เริ่มมีเสาส่งผุดถี่ขึ้น เสาใหม่ๆเพิ่มขึ้น เพราะระยะที่แคบลง ดังภาพ 
https://droidsans.com/3g-4g-differences-why-it-keeps-switching/

         ใกล้เสาความเร็วสูงเพราะใช้คลื่นความถี่เป็น H+ ไกลออกไป ลดลงเป็น H  เป็น 3G ตามลำดับ
ระยะของ H+, H, และ 3G
ที่มา : https://droidsans.com/3g-4g-differences-why-it-keeps-switching/

มาตรฐานที่อยู่ภายใต้ กรอบของเทคโนโลยี IEEE 802.11

             ปัจจุบันนี้มีมาตรฐานออกมาหลายอย่าง แต่ที่ได้รับความนิยมทั้งในอตีตและปัจจุบันนั้น แบ่งออกเป็น 7 มาตรฐานด้วยกัน ได้แก่
  • IEEE 802.11a - เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 1999 โดยออกเผยแพร่ช้ากว่าของมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อปรับปรุงความเร็วในการส่งข้อมูลให้วิ่งได้สูงถึง 54 Mbps บนความถี่ 5Ghz ซึ่งจะมีคลื่นรบกวนน้อยกว่าความถี่ 2.4 Ghz ที่มาตรฐานอื่นใช้กัน ที่ความเร็วนี้สามารถทำการแพร่ภาพและข่าวสารที่ต้องการความละเอียดสูงได้ อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสามารถปรับระดับให้ช้าลงได้ เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้มากขึ้น แต่ทว่าข้อเสียก็คือ ความถี่ 5 Ghz นั้น หลายๆประเทศไม่อนุญาตให้ใช้ เช่นประเทศไทย เพราะได้จัดสรรให้อุปกรณ์ประเภทอื่นไปแล้ว และเนื่องด้วยการที่มาตรฐานนี้ ใช้การเชื่อมต่อที่ความถี่สูงๆ ทำให้มาตรฐานนี้ มีระยะการรับส่งที่ค่อนข้างใกล้ คือ ประมาณ 35 เมตร ในโครงสร้างปิด(เช่น ในตึก ในอาคาร) และ 120 เมตรในที่โล่งแจ้งและด้วยความที่ส่งข้อมูลด้วยความถี่สูงนี้ ทำให้การส่งข้อมูลนั้นไม่สามารถทะลุทะลวงโครงสร้างของตึกได้มากนัก อุปกรณ์ไร้สายที่รองรับเทคโนโลยี IEEE 802.11a นี้ไม่สามารถเข้ากันได้กับอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ที่จะอธิบายด้านล่างนี้ได้ อีกทั้งอุปกรณ์ของ IEEE 802.11a ยังมีราคาสูงกว่า IEEE 802.11b ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์ IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อยกว่า IEEE 802.11b มาก จึงทำให้ไม่ค่อยเป็นที่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
  • IEEE 802.11b - เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 1999 ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ผนวกกับ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อปรับปรุงความสามารถของอุปกรณ์ให้รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ผ่านคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz เนื่องจากการใช้คลื่นความถี่ที่ต่ำกว่าอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11a ทำให้อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐานนี้จะมีความสามารถในการส่งคลื่นสัญญาณไปได้ไกลกว่าคือประมาณ 38 เมตรในโครงสร้างปิดและ 140 เมตรในที่โล่งแจ้ง รวมถึง สัญญาณสามารถทะลุทะลวงโครงสร้างตึกได้มากกว่าอุปกรณ์ที่รองรับกับมาตรฐาน IEEE 802.11a ด้วย ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายภายใต้มาตรฐานนี้ได้รับการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก โดยอุปกรณ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้ก็เช่น IEEE 802.11, Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สาย, และเตาไมโครเวฟ และที่สำคัญแต่ละผลิตภัณฑ์มีความสามารถทำงานร่วมกันได้ อุปกรณ์ของผู้ผลิตทุกยี่ห้อต้องผ่านการตรวจสอบจากสถาบัน Wi-Fi Alliance เพื่อตรวจสอบมาตรฐานของอุปกรณ์และความเข้ากันได้ของแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันนี้นิยมนำอุปกรณ์ WLAN ที่มาตรฐาน 802.11b ไปใช้ในองค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา สถานที่สาธารณะ และกำลังแพร่เข้าสู่สถานที่พักอาศัยมากขึ้น มาตรฐานนี้มีระบบเข้ารหัสข้อมูลแบบ WEP ที่ 128 บิต
  • IEEE 802.11g - เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2003 ทางคณะทำงาน IEEE 802.11g ได้นำเอาเทคโนโลยี OFDM ของ 802.11a มาพัฒนาบนความถี่ 2.4 Ghz จึงทำให้ใช้ความเร็ว 36-54 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่ามาตรฐาน 802.11b ซึ่ง 802.11g สามารถปรับระดับความเร็วในการสื่อสารลงเหลือ 2 Mbps ได้ตามสภาพแวดล้อมของเครือข่ายที่ใช้งาน นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีบางผลิตภัณฑ์ใช้เทคโนโลยีเฉพาะตัวเข้ามาเสริม ทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 54 Mbps เป็น 108 Mbps แต่ต้องทำงานร่วมกันเฉพาะอุปกรณ์ที่ผลิตจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ซึ่งความสามารถนี้เกิดจากชิป (Chip) กระจายสัญญาณของตัวอุปกรณ์ที่ผู้ผลิตบางรายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่ง สัญญาณเป็น 2 เท่าของการรับส่งสัญญาณได้
  • IEEE 802.11n - เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2009 ทำงานบนย่านความถี่ 2.4 และ 5 GHz โดยที่สามารถให้อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 300 Mbps มีความสามารถในการส่งคลื่นสัญญาณ ได้ระยะประมาณ 70 เมตรในโครงสร้างปิด และ 250 เมตรในที่โล่งแจ้ง เพิ่มความสามารถในการกันสัญญาณกวนจากอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ความถี่ 2.4GHz เหมือนกัน และสามารถรองรับอุปกรณ์มาตรฐาน IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ได้
  • IEEE 802.11ac - เป็นมาตรฐานที่ 5 GHz ให้ทรูพุทกับแลนไร้สายแบบหลายสถานีสูงกว่าที่อย่างน้อย 1 Gbps และสำหรับลิงก์เดี่ยวที่อย่างน้อย 500 Mbps โดยการใช้ RF แบนด์วิธที่กว้างกว่า(80 หรือ 160 MHz) สตรีมมากกว่า (สูงถึง 8 สตรีม) และมอดูเลทที่ความจุสูงกว่า(สูงถึง 256 QAM)
  • IEEE 802.11ad - หรือ "WiGig" เกิดจากการผลักดันจากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2012 Marvell และ Wilocity ได้ประกาศการเป็นคู่ค้าใหม่เพื่อนำ Wi-Fi solution แบบ tri-band ใหม่ออกสู่ตลาด โดยการใช้ความถี่ที่ 60 GHz ทรูพุททางทฤษฎีสูงสุดถึง 7 Gbps มาตรฐานนี้จะออกสู่ตลาดได้ราวต้นปี 2014
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/IEEE_802.11

 
Linksys WRT54GS WiFi router from 2005 operates on the 2.4 GHz "G"
ตำนานแห่ง เราเตอร์/แอคแชสพอยท์ IEEE802.11g
LINKSYS EA9500 MAX-STREAM™ AC5400 
MU-MIMO 5 GIGABIT WI-FI ROUTER (2017)

อาจจะเรียกได้ว่า รุ่นแรกๆ ของ 802.11ad นะ(มีขายแล้ว!!)

อุปกรณ์ที่รองรับ


ที่มา : https://www.techlila.com/laptop-vs-tablet-pc-vs-smartphone/

           ว่าแล้วคอมพิวเตอร์ โน็ตบุ๊ค มือถือเรา รับรุ่นใหนได้บ้างละครับ เราก็ดูกันหลายองค์ประกอบ ตั้งแต่ระดับราคา  ปีที่ผลิต ปีที่ซื้อ อย่างที่บอกว่า Notebook ของผมยังเป็น Draft-N เพราะซื้อมานาน ใช้มานาน ซ่อมเปลี่ยนเกือบหมดแล้ว เหลือแค่โครงเดิม (ที่ใหม่ได้แก่ Mainboard/HDD/RAM/จอ/Keyboard/Batt อ้าวเหลือของเก่าแต่โครงเคสจริงๆ)
           Notebook , Smart Phone รุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ปี 2016 (พ.ศ. 2559) ก็รองรับ Wi-Fi 802.11ac กันเกือบหมดแล้วนะครับ แต่อาจจะมีบางรุ่น ราคาต่ำๆ ยังรับได้แค่ 802.11n อยู่


       เดี๋ยววันหลังมาเพิ่มเติมเรื่อง ลักษณะภายนอก รูปแบบใช้ภายนอก(Out Door) ใช้ภายใน (In Door) ใช้ทั่วไปหรือใช้เฉพาะเช่น ระยะไกล(WiMAX) หรือการกำหนดช่องสัญญาณ จะมาขยายความวันหลังนะครับ วันนี้เอาแค่นี้ก่อนเริ่มง่วงๆ แล้ววววว

ตัวอย่างของที่ใช้อยู่ ไม่ได้โฆษณานะ
ภาพจาก http://www.kapes.biz



อ้างอิง 
https://th.wikipedia.org/wiki/IEEE_802.11
https://www.mabzicle.com/2013/07/ieee-802.11-ac-wifi-standard.html
http://wwarodom.blogspot.com/2016/08/ieee-80211.html
https://droidsans.com/3g-4g-differences-why-it-keeps-switching/
https://www.slideshare.net/chhattanshah/ieee-80211-architecture-and-services



FREE Cryptocurrency

BX.in.th Bitcoin Exchange Thailand
http://freedoge.co.in/?r=1743468
Free bitcoins dogecoins litecoin dashcoin bitcoincash btc ltc doge bch xzc